ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544–2549 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ทักษิณริเริ่มหลายนโยบายซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึงสองสมัย นโยบายของทักษิณลดความยากจนในชนบทได้ชะงัด และจัดบริการสาธารณสุขในราคาที่สามารถจ่ายได้ ด้วยเหตุนี้ ฐานเสียงสนับสนุนของเขาส่วนใหญ่จึงมาจากคนยากจนในชนบท

รัฐบาลของเขามักถูกกล่าวหาว่าเผด็จการ ฉวยโอกาสทางการเมือง ฉ้อราษฎร์บังหลวง มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ละเมิดสิทธิมนุษยชน กระทำอันไม่เหมาะสมในทางการทูต การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายและเป็นปฏิปักษ์ต่อสื่อเสรี นอกจากนี้เขายังถูกโจมตีด้วยข้อกล่าวหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย กบฏ ช่วงชิงอำนาจของศาสนาและพระมหากษัตริย์ ขายทรัพย์สินให้แก่นักลงทุนต่างชาติ การดูหมิ่นศาสนาและเข้ากับอำนาจมืด

ทักษิณมักถูกฝ่ายต่อต้านวิพากษ์วิจารณ์ว่า มักใช้อำนาจสนับสนุนหรือเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติและบุคคลใกล้ชิด เช่น การสนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งสำคัญ อย่างการผลักดันให้พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมถึงพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นพี่ชายของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยา รวมถึงการใช้อำนาจต่าง ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มชินคอร์ป เช่น ลดค่าภาษีสัมปทานโทรคมนาคมให้กับบริษัทเอไอเอส ลดค่าสัมปทานเช่าคลื่นความถี่ให้กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัดด้านกระบวนการยุติธรรม ยกเว้นคดีที่ดินรัชดาภิเษกและคดียึดทรัพย์ฯ เนื่องมาจากร่ำรวยผิดปกติ

ทักษิณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียงอันเป็นประวัติศาสตร์กว่า 19 ล้านเสียง โดยได้ตำแหน่ง ส.ส.ในสภา จำนวน 376 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ กลับได้เพียง 96 ที่นั่ง โดยคะแนนเสียงหลักของพรรคไทยรักไทยมาจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร โดยในกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทยได้ถึง 32 ที่นั่ง จาก 37 เขตเลือกตั้ง จากนโยบายเมกะโปรเจกต์ สร้างรถไฟฟ้า 7 สาย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ[ต้องการอ้างอิง]

รัฐบาลไทยรักไทยในสมัยที่สองนี้เป็นรัฐบาลชุดแรกในประวัติศาสตร์ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มาจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ ทำให้การเมืองไทย มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบสองพรรค ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ทักษิณ ได้ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรีของแกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย และมีการขยายการชุมนุมให้มากขึ้น และอีกทั่งการคอร์รัปชั่นและเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง ตามที่กลุ่มผู้ไม่พอใจได้กล่าวมา จนกระทั่งพ.ต.ท. ทักษิณ ตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่

วันที่ 4 เมษายน เวลา 20.30 น. ทักษิณ แถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ แต่ยังจำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะแล้วเสร็จ แต่เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้านจากพรรคฝ่ายค้าน และกลุ่มพันธมิตรฯ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ในวันที่ 6 เมษายน ทักษิณ ได้ลาราชการ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน

ในระหว่างลาราชการ ทักษิณ ได้เดินทางเยือน และพบปะหารือ เป็นการส่วนตัว กับผู้นำหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง ตั้งแต่ วันที่ 24 ถึง 30 เมษายน

อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองได้ตัดสินให้ การเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน เป็นโฆฆะ หลังจากนั้นศาลได้ตัดสินจำคุกและตัดสิทธิทางการเมืองคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน คือ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร เป็นเวลา 10 ปี ทำให้ทั้งสามคนจึงพ้นจากตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ทักษิณ ก็เดินทางกลับมาทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤษภาคม และได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศให้วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นวันเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนจะมีการเลือกตั้งใหม่ ก็เกิดการก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐบาลทักษิณออกแบบนโยบายเพื่อตอบสนองผู้ออกเสียงลงคะแนนฝ่ายข้างมากในชนบท ริเริ่มโครงการอย่างกองทุนพัฒนาไมโครเครดิตที่หมู่บ้านเป็นผู้จัดการ เงินกู้ยืมการเกษตรดอกเบี้ยต่ำ การอัดฉีดเงินสดเข้ากองทุนพัฒนาหมู่บ้านโดยตรง (แผนเอสเอ็มแอล) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) โครงการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมชนบท

ทักษิโณมิค นโยบายเศรษฐกิจของทักษิณ ช่วยเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 และลดความยากจน จีดีพีเติบโตจาก 4.9 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2544 เป็น 7.1 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2549 ประเทศไทยจ่ายหนี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนกำหนดสองปี ระหว่างปี 2543 ถึง 2547 รายได้ของภาคอีสานซึ่งเป็นภาคที่ยากจนที่สุดในประเทศเพิ่มขึ้น 40% และอัตราความยากจนทั่วประเทศลดลงจาก 21.3% เหลือ 11.3%ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการซื้อขายเหนือตลาดอื่นในภูมิภาค หลังขาดดุลการคลังในปี 2544 และ 2545 ทักษิณได้ปรับดุลงบประมาณของชาติ ซึ่งทำให้มีงบประมาณส่วนเกินเหลือไว้สำหรับปี 2546 ถึง 2548 แม้ว่ามีโครงการการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ แต่มีการกำหนดงบประมาณสมดุลสำหรับปี 2550 หนี้สาธารณะของไทยลดลงจาก 57% ของจีดีพีเมื่อเดือนมกราคม 2544 เหลือ 41% ของจีดีพีในเดือนกันยายน 2549 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2544 เป็น 64,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549

นักวิจารณ์อ้างว่าทักษิโณมิคไม่ได้มากไปกว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเคนส์ซึ่งนำมาทำใหม่เท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยแย้งว่าปัจจัยอื่น อย่างเช่นการฟื้นตัวของความต้องการการส่งออก เป็นปัจจัยหลักเบื้องหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนคนอื่นอ้างว่านโยบายดังกล่าวทำให้คนยากจนในชนบท "ยึดติดกับการแจกเงินของทักษิณ"

ทักษิณยังช่วยนำบางส่วนของระบบหวยใต้ดินของประเทศไทยเข้าสู่ระบบหวยบนดินซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย ดำเนินการโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ยอดขายหวยอย่างน้อย 70,000 ล้านบาทใช้ในโครงการสังคม รวมไปถึง "หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน" ซึ่งเป็นการให้ทุนศึกษาต่างประเทศแก่นักเรียนหนึ่งคนจากครอบครัวมีรายได้ต่ำในแต่ละอำเภอ ไม่นานหลังจากทักษิณพ้นจากตำแหน่ง คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองสั่งห้ามหวยดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นความเสื่อมทรามทางสังคม ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ล่อลวงให้คนจนไม่ทำงานและติดการพนัน ยิ่งไปกว่านี้ ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีไม่มีสิทธิ์จะออกหวยโดยปราศจากกระบวนการทางการเมืองที่เหมาะสม โครงการมอบทุนยังได้หยุดไปด้วย

ทักษิณริเริ่มนโยบายสาธารณสุขสำคัญสองอย่าง ได้แก่ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่รัฐอุดหนุน ("สามสิบบาทรักษาทุกโรค") และการเข้าถึงยาต้านรีโทรไวรัสเอชไอวีราคาถูกถ้วนหน้า โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของทักษิณได้การสนับสนุนจากสาธารณชน แต่แพทย์และข้าราชการจำนวนมากวิจารณ์ ก่อนการริเริ่มโครงการดังกล่าว ประชากรมากพอสมควรไม่มีหลักประกันสุขภาพและเข้าถึงสาธารณสุขได้จำกัด โครงการนี้ช่วยเพิ่มการเข้าถึงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจาก 76% ของประชากรเป็น 96% ของประชากร แต่โครงการนี้เพิ่มภาระงานแก่ลูกจ้างสาธารณสุขและทำให้แพทย์จำนวนมากหันไปประกอบอาชีพที่รายได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังถูกวิจารณ์ว่าได้รับงบประมาณต่ำเกินไปมาก การขาดดุลการเงินที่เกิดจากโครงการทำให้โรงพยาบาลบางแห่งหาแหล่งรายได้อื่น ทำให้มีการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (medical tourism) โดยมีผู้ป่วยต่างชาติ 1.3 ล้านคน สร้างรายได้ให้ประเทศ 33,000 ล้านบาทในปี 2548

มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหลังรัฐประหาร เรียกโครงการ 30 บาทว่าเป็น "กลเม็ดการตลาด" และอ้างว่ารัฐบาลจะหยุดเรียกเงินใด ๆ จากการรับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ

ระหว่างรัฐบาลทักษิณ จำนวนผู้ที่ป่วยเอชไอวี ตลอดจนอัตราความชุกของโรคโดยรวมลดลงอย่างสังเกตได้ เพราะมีผู้ติดเชื้อลดลง แม้มีความสำเร็จในการขยายการเข้าถึงยารักษาเอชไอวี แต่มีความกังวลว่าข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐจะคุกคามความสามารถในการผลิตการรักษาเอชไอวีสามัญ

ทักษิณอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวประมาณ 2.3 ล้านคนขึ้นทะเบียนและรับบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบสาธารณสุขของไทย พวกเขายังมีสิทธิได้ใบอนุญาตทำงานเมื่อสิ้นสุดระยะขึ้นทะเบียน ทำให้พวกเขาได้รับการคุ้มครองแรงงานอย่างสมบูรณ์ คณะกรรมการกลุ่มแรงงานของพรรคประชาธิปัตย์ พงศักดิ์ เปล่งแสง วิจารณ์ท่าทีดังกล่าว โดยอ้างว่าจะทำให้ชาวไทยมีอัตราว่างงานเพิ่ม

ทักษิณริเริ่มนโยบายซึ่งมีข้อโต้เถียงอย่างสูงหลายอย่างเพื่อตอบโต้การเติบโตของตลาดยาเสพติดไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมทแอมเฟตามีน หลังนโยบายต้านยาเสพติดก่อนหน้านี้ เช่น การปิดพรมแดน (เมทแอมเฟตามีนส่วนมากผลิตในประเทศพม่า) การศึกษาสาธารณะ กีฬา และการสนับสนุนแรงกดดันกลุ่มใช้ยาเสพติดให้ผลไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใด ทักษิณออกการรณรงค์ปราบปรามหลายทิศทางซึ่งมุ่งจำกัดการใช้เมทแอมเฟตามีนใน 3 เดือน โดยเปลี่ยนการลงโทษสำหรับการติดยาเสพติด การตั้งเป้าหมายการจับและยึดของจังหวัด การให้รางวัลข้าราชการของรัฐสำหรับการบรรลุเป้าหมาย การกำจัดผู้ค้าและสั่งการนำไปปฏิบัติอย่าง "ไร้ปราณี"

ในสามเดือนแรก ฮิวแมนไรต์วอชรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 2,275 คน รัฐบาลอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตจากมือตำรวจเพียงประมาณ 50 คน นักวิจารณ์สิทธิมนุษยชนกล่าวว่ามีจำนวนมากถูกประหารชีวิตนอกกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลเดินหน้าป่าวการรณรงค์ดังกล่าวผ่านการประกาศการจับกุม การยึดและสถิติเสียชีวิตรายวัน

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นโยบายนี้มีประสิทธิผลลดการบริโภคยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน

ในพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ปี 2546 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรัสสนับสนุนแนวทางต้านยาเสพติดของทักษิณ แม้พระองค์ทรงขอให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแยกแยะการเสียชีวิตจากผู้ที่ถูกตำรวจฆ่าและผู้ที่ถูกผู้ค้ายาเสพติดด้วยกันฆ่าสันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดการสืบสวนการเสียชีวิตใหม่ และพบอีกว่ามีผู้เสียชีวิตจากมือตำรวจน้อย แนวทางต้านยาเสพติดของทักษิณถูกประชาคมนานาชาติประณามอย่างกว้างขวาง ทักษิณขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติส่งทูตพิเศษมาประเมินสถานการณ์

หลังรัฐประหารปี 2549 คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองสั่งการสืบสวนการรณรงค์ต้านยาเสพติดอีกชุด โดยมีอดีตอัยการสูงสุด คณิต ณ นคร เป็นประธานคณะกรรมการสืบสวนพิเศษ คณะกรรมการพบว่าผู้ที่ถูกฆ่ามากถึง 1,400 คนาก 2,500 คนไม่มีความเชื่อมโยงกับยาเสพติด คณะกรรมการให้ความเห็นว่าการฆ่านี้มาจากนโยบายของรัฐบาล แต่ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ทักษิณ ได้ดำเนินการการเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐประชาชนจีน, ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศบาห์เรน, ประเทศอินเดีย, และสหรัฐอเมริกา

ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาในการรบกับประเทศอิรัก และได้ส่งทหารไทยจำนวน 423 นายออกรบในครั้งนี้ โดยมีทหารไทยเสียชีวิตจำนวน 2 นาย ผลจากการเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาในการรบกับประเทศอิรักทำให้ประเทศไทยได้เป็นพันธมิตรนอกนาโต นับ 11 ที่เป็นพันธมิตรนอกนาโตกับประเทศสหรัฐอเมริกา

ทักษิณ สนับสนุนให้ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติคนใหม่แทนโคฟี อันนัน ซึ่งหมดวาระการดำรงตำแหน่ง

หลังจากที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2530 จากรัฐบาลชุดพลเอกเปรม ติณสูลานนท์(เริ่มงานถมดินและนำความชื้นออกจากใต้ดินซึ่งต้องใช้เวลาตามขั้นตอนวิศวกรรมซึ่งต้องใช้เวลาถึง 5 ปีเต็ม)จนเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้บริการ ในวันที่ 28 กันยายน 2549


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301